สถานการณ์การระบาดของโรคหัดเยอรมัน ในประเทศญี่ปุ่น


โรคระบาดที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นการระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นในปี .. 2561 ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด วันที่ 31 ตุลาคม .. 2561 พบจำนวนผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปีมียอดสูงถึง 1,692 ราย (1.33 รายต่อแสนประชากร) การระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่น ปี .. 2561 นี้ เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 30 ของปี (25 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม .. 2561) ที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวน 19 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่พบผู้ป่วยเพียง 1 - 11 รายต่อสัปดาห์เท่านั้น หลังจากนั้นก็มีการระบาดรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวในแต่ละสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงการระบาดสูงสุดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน จนถึงปัจจุบัน ที่พบผู้ป่วยสูงขึ้นถึง 145 - 215 รายต่อสัปดาห์ (ข้อมูล วันที่ 31 ตุลาคม .. 2561)1 (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 แผนภูมิแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นจำแนกเป็นรายสัปดาห์ ตั้งแต่สัปดาห์ 1 - 43 ของปีพ.. 2561 (ข้อมูล วันที่ 31 ตุลาคม .. 2561) (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิง 1)
r1.png

เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์การระบาดโรคหัดเยอรมันช่วงก่อนหน้านี้ ในช่วงปี .. 2555 - 2560 พบว่าโรคหัดเยอรมันไม่ใช่โรคที่เพิ่งมีการระบาดในประเทศญี่ปุ่น แต่มีการระบาดครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งมาก่อนหน้านี้ในปี .. 2555 และพ.. 2556 ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยโดยรวมสูงถึง 2,386 ราย (1.86 รายต่อแสนประชากร) และ 14,344 ราย (11.25 รายต่อแสนประชากร) ตามลำดับ แต่หลังจากนั้นก็มีการเว้นช่วงการระบาดมายาวนานถึง 4 ปี ก่อนจะเริ่มมีการระบาดอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งการระบาดในปีนี้ มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดในปี .. 25561

เมื่อพิจารณาช่วงเดือนที่เริ่มระบาด พบว่าเหตุการณ์ในปี .. 2556 และ .. 2561 เริ่มมีการะบาดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน คือ ในปี .. 2556 เริ่มมีการระบาดของโรคตั้งแต่ช่วงต้นปี ซึ่งเร็วกว่าการระบาดในปีนี้ที่เริ่มมีการระบาดช่วงปลายเดือนกรกฏาคม1 (รูปที่ 2)

รูปที่ 2 แผนภูมิแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันสะสมในแต่ละสัปดาห์ ในปี .. 2555 - 2561 (สัปดาห์ที่ 1 - 43) (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิง 1)

r2.png


ลักษณะของผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันในช่วงการระบาดในประเทศญี่ปุ่น
1

จากจำนวนผู้ป่วยในปี .. 2561 ทั้งหมด 1,692 ราย พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นเพศชาย 1,387 ราย (ร้อยละ 81.9) พบมากในช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่พบมากที่สุดคือช่วงอายุ 40-49 ปี จำนวน 547 ราย (ร้อยละ 32.3) ซึ่งแตกต่างจากช่วงอายุที่น้อยกว่า 20 ปี ที่พบผู้ป่วยจำนวนไม่มาก ดังแสดงในรูปที่ 3 ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่ไม่ทราบประวัติการได้รับวัคซีนหัดเยอรมันมาก่อนถึง 1,151 ราย (ร้อยละ 68.0) หรือไม่มีประวัติการได้รับวัคซีนจำนวน 430 ราย (ร้อยละ 25.4) ส่วนน้อยที่จะมีประวัติการได้รับวัคซีนซึ่งมีจำนวนเพียง 111 ราย (ร้อยละ 6.5)

r3.png


พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่น
1

การระบาดของโรคหัดเยอรมันครั้งนี้ เริ่มเกิดขึ้นที่ตอนกลางของประเทศ ในเขตพื้นที่ Kanto (จังหวัด Tokyo) Kansai (จังหวัด Kyoto และ Osaka) และ Chubu (จังหวัด Toyama และ Aichi) หลังจากนั้นก็มีการแพร่กระจายของโรคอย่างกว้างขวาง โดยใช้เวลาเพียง 20 สัปดาห์ เชื้อหัดเยอรมันสามารถแพร่กระจายจากตอนกลางของประเทศไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ยกเว้นเพียง 2 เขตที่ไม่มีการระบาด คือ พื้นที่ Shikoku และ Okinawa (รูปที่ 4)

จากข้อมูลล่าสุด วันที่ 31 ตุลาคม .. 2561 เขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค มีทั้งหมด 7 เขต คือ

  • - เขตพื้นที่ Hokkaido
  • - เขตพื้นที่ Tohoku ได้แก่ จังหวัด Fukushima
  • - เขตพื้นที่ Kanto ได้แก่ จังหวัด Ibaraki, Chiba, Saitama, Tokyo และ Kanagawa
  • - เขตพื้นที่ Chubu ได้แก่ จังหวัด Gifu, Toyama, Ishikawa, Shizuoka และ Achi
  • - เขตพื้นที่ Kansai ได้แก่ จังหวัด Shiga, Kyoto, Osaka, Nara และ Hyogo
  • - เขตพื้นที่ Chugoku ได้แก่ จังหวัด Hiroshima และ Yamaguchi
  • - เขตพื้นที่ Kyushu ได้แก่ จังหวัด Fukuoka, Kumamoto และ Kagoshima


รูปที่ 4 แผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันจำแนกตามรายจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ในสัปดาห์ที่ 20 และ 43 ของการระบาดในปี .. 2561 (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิง 1)
r4.png

สถานการณ์โรคหัดเยอรมันในประเทศไทย2,3

ในประเทศไทยเริ่มมีการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันทั่วประเทศในปี .. 2529 โดยเริ่มแรกให้วัคซีนเฉพาะในเด็กผู้หญิงอายุ 12 ปี หลังจากนั้นก็เริ่มให้วัคซีนทั้งในชายและหญิงในปี .. 2536 – 25394 (รูปที่ 5) หากพิจารณาอัตราการเกิดโรคในช่วงก่อนและหลังปี .. 2539 หรือช่วงก่อนและหลังมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันทั่วประเทศ พบว่าช่วงก่อนปี .. 2539 มีการระบาดของโรคหัดเยอรมันครั้งใหญ่ทั้งหมด 2 ครั้ง ในปี .. 2527 และปี .. 2534 พบอัตราการป่วยสูงถึง 17.6 รายต่อแสนประชากร และ 8.97 รายต่อแสนประชากร ตามลำดับ ส่วนในช่วงปีที่ไม่มีการระบาด ก็มีอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.6 - 5.8 รายต่อแสนประชากร แต่หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันในช่วงปี .. 2536 - 2539 พบว่าอัตราการเกิดโรคลดลงตามลำดับ จนกระทั่งหลังปี .. 2545 มีอัตราการเกิดโรคลดต่ำอย่างชัดเจน เหลือเพียง < 1 รายต่อแสนประชากร และจากข้อมูลล่าสุดในปี .. 2561 (ข้อมูล วันที่ 29 ตุลาคม .. 2561) มีอัตราการเกิดโรคหัดเยอรมันลดลงเหลือเพียง 0.4 รายต่อแสนประชากร3


รูปที่ 5 แผนภูมิแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันในประเทศไทย (รายต่อแสนประชากร) จำแนกรายปี
r5.png

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหัดเยอรมันเมื่อเดินทางเข้าสู่พื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหัดเยอรมันหลังสัมผัสโรคหรือเมื่อเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง จะขึ้นกับระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค หากผู้ที่เดินทางเข้าสู่พื้นที่เสี่ยงมีระดับภูมิคุ้มกันโรคที่ดีเพียงพอ ก็สามารถป้องกันการติดเชื้อหัดเยอรมันหลังสัมผัสโรคได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน ได้แก่ ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน และผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันมาก่อน

สำหรับประเทศไทย ส่วนใหญ่ประชากรจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งมีภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีน เนื่องจากประเทศไทยเริ่มมีการให้ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันในเด็กหญิงอายุ 12 ปี ทุกรายในปี .. 2529 และมีการฉีดวัคซีนทั้งเด็กชายและหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปี .. 25364 หมายความว่า ผู้หญิงอายุ 44 ปีลงมา และ ผู้ชาย อายุ 32 ปีลงมา จะได้รับวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันแล้วทุกคน ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีมาก สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้สูงมากกว่าร้อยละ 95 หลังการฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม5 และยังสามารถป้องกันโรคได้ยาวนานกว่า 20 ปี6 ดังนั้นผู้ที่เคยฉีดวัคซีนหรือผู้ที่อยู่ในช่วงอายุดังกล่าวข้างต้นจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันอยู่ในระดับดีมาก มีความเสี่ยงน้อยที่จะติดเชื้อหลังเดินทางเข้าสู่พื้นที่ระบาด

สำหรับผู้ที่เกิดก่อนช่วงที่ประเทศไทยมีการให้วัคซีนหัดเยอรมันทั่วประเทศ (ผู้หญิงอายุมากกว่า 44 ปี และผู้ชายอายุมากกว่า 32 ปี) จากหลายการศึกษาพบว่า ประชากรเหล่านี้ส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคดี เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับวัคซีน จากการศึกษาในปี .. 2547 และ 2559 ที่ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม ในช่วงอายุต่างๆ พบว่า ผู้ที่เกิดก่อนช่วงที่มีการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันทั่วประเทศ มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันมากกว่าร้อยละ 84 ขึ้นไป และยังมีระดับภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าผู้ที่เกิดหลังช่วงเวลาที่มีการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ4,7 สาเหตุที่ประชากรกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมันอยู่ในระดับดี ส่วนหนึ่งคาดว่าเกิดจากการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อหัดเยอรมันตามธรรมชาติมาก่อน



ลักษณะอาการทางคลินิกของโรคหัดเยอรมัน4

ความรุนแรงของโรคหัดเยอรมัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อ

  1. การติดเชื้อช่วงหลังคลอด (Postnatal Rubella) การติดเชื้อในช่วงเวลานี้อาการจะไม่รุนแรง และเกิดภาวะแทรก ซ้อนต่ำมาก มีลักษณะ คือ ไข้ต่ำๆ ผื่นจะมีลักษณะ generalized erythematous maculopapular rash ต่อมน้ำเหลืองโต และเยื่อบุตาอักเสบ ลักษณะผื่นจะเริ่มจากใบหน้า และกระจายไปทั่วร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง และจะดีขึ้นภายใน 3 วัน
  2. การติดเชื้อขณะที่อยู่ในครรภ์ การติดเชื้อในช่วงเวลานี้ แตกต่างจากการติดเชื้อช่วงหลังคลอดอย่างมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด การตายของทารกในครรภ์ และเป็นสาเหตุของ congenital rubella syndrome ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทำให้ทารกมีความพิการในหลายอวัยวะและถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบใน congenital rubella syndrome แบ่งตามระบบ มีดังนี้

1) ระบบการมองเห็น ได้แก่ cataracts, pigmentary retinopathy, microphthalmos, congenital glaucoma

2) ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ patent ductus arteriosus, peripheral pulmonary artery stenosis

3) ระบบการได้ยิน คือ sensorineural hearing impairment

4) ระบบประสาทและสมอง ได้แก่ behavioral disorders, meningoencephalitis, microcephaly, mental retardation

5) อาการอื่นๆ ได้แก่ growth restriction, interstitial pneumonitis, radiolucent bone disease, hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, dermal erythropoiesis (เรียกว่า “blueberry muffin” )


แนวทางปฏิบัติก่อนเดินทางเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นตามคำแนะนำจาก CDC8

โดยปกติการเฝ้าระวังการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้9
ระดับ 1 Watch คือ ระดับเฝ้าระวังตามปกติ ไม่จำกัดการเดินทาง
ระดับ 2 Alert คือ เพิ่มระดับการเฝ้าระวัง มีคำแนะนำการปฏิบัติตัวขณะเข้าพื้นที่เสี่ยง แต่ยังไม่จำกัดการเดินทาง
ระดับ 3 Warning คือ ระดับแจ้งเตือน มีการจำกัดการเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง

ขณะนี้ทาง CDC ได้ยกระดับการเฝ้าระวังการระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นขึ้นเป็นระดับ 2 แล้ว ซึ่งมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ดังต่อไปนี้

  1. หญิงตั้งครรภ์ จากลักษณะทางคลินิกข้างต้น จะเห็นได้ว่าการติดเชื้อหัดเยอรมันของทารกในครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ จึงไม่แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นในช่วงที่มีการระบาดนี้ ยกเว้นว่ามีประวัติเคยได้รับวัคซีนโรคหัดเยอรมัน หรือเคยเป็นโรคมาก่อน
  2. กลุ่มผู้เดินทางทั่วไป มีคำแนะนำ ดังนี้
    1. ผู้เดินทางที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน หรือไม่เคยป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน หรือวัคซีน MMR (measles, mumps, rubella) ก่อนเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น
    2. ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ควรหลีกเลี่ยงผู้ที่มีอาการป่วย

การฉีดวัคซีนโรคหัดเยอรมันก่อนเข้าพื้นที่เสี่ยงแบ่งตามกลุ่มอายุ8

1. อายุ 6 - 11 เดือน ให้วัคซีน MMR 1 เข็ม

2. อายุ 1 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ ให้วัคซีน MMR 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน

โดยสรุปแล้ว การระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ ไม่ได้เป็นปัญหาที่น่ากังวลสำหรับคนไทยโดยทั่วไป เนื่องจากโดยส่วนใหญ่คนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันแล้ว ทั้งจากวัคซีนและจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ และโดยทั่วไปโรคหัดเยอรมันไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ในทางกลับกันหากเกิดการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ส่งผลให้ทารกในครรภ์พิการและถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นในการระบาดครั้งนี้ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นในช่วงการระบาดนี้


เอกสารอ้างอิง

1. National Institute of Infectious Disease. IDWR Surveillance Data Table 2018 week 43. [cited 2018 November 6]. Available from: https://www.niid.go.jp/niid/ja/rubella-m-111/rubella-top/700-idsc/2131-rubella-doko.html

2. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์โรค rubella ปี 61 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=situation&ds=16

3. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์รายปี.[เข้าถึงเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=16

4. Tharmaphornpilas P, Yoocharean P, Rasdjarmrearnsook AO, et al. Seroprevalence of antibodies to measles, mumps, and rubella among Thai population: evaluation of measles/MMR immunization programme. J Health Popul Nutr. 2009;27(1):80-6.

5. American Academy of Pediatrics. Rubella. In: Kimberlin DW, Brady MT, Jackson MA, Long SS, eds. Red Book: 2018 Report of the Committee on Infectious Diseases. 31st ed. Itasca, IL: American Academy of Pediatrics; 2018: p.705 - 11.

6. Davidkin I, Jokinen S, Broman M, et al. Persistence of measles, mumps, and rubella antibodies in an MMR-vaccinated cohort: a 20-year follow-up. J Infect Dis. 2008;197(7):950-6.

7. Chaiwarith R, Praparattanapan J, Nuket K, et al. Seroprevalence of antibodies to measles, mumps, and rubella, and serologic responses after vaccination among human immunodeficiency virus (HIV)-1 infected adults in Northern Thailand. BMC Infect Dis. 2016;16:190.

8. CDC. Travelers' Health, Rubella in Japan. [cited 2018 November 6]. Available from: https://wwwnc.cdc.gov/travel/notices/alert/rubella-japan

9. CDC. Travelers' Health, Travel health notices. [cited 2018 November 6]. Available from: https://wwwnc.cdc.gov/travel/notices#travel-notice-definitions

ไฟล์แนบบทความ
 Download [1072 kb]