เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมกับงานพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี

          โรคไข้สมองอักเสบเจอีเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ในแถบ ASIA-PACIFIC รวมทั้งประเทศไทย ได้มีการค้นคิดและนำวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตายเตรียมจากสมองหนูไปใช้ในคนเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1941 ตราบปัจจุบันได้มีการใช้วัคซีนดังกล่าวกันอย่างแพร่หลายมานานกว่าครึ่งศตวรรษคาดว่าน่าจะมีการใช้วัคซีนชนิดนี้ต่อไปอีกราว 5 ปี

          เป็นที่ทราบกันดีว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ชิ้นส่วนเล็กๆ ของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้เป็นวัคซีนป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิผล ตัวอย่างนี้เป็นการจุดประกายทางความคิด ทำให้มีการนำเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมไปใช้พัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ๆ ในเวลาต่อมา

          ในกรณีไวรัสไขส้ มองอักเสบเจอี เปน็ ที่น่า ยินดีวา่ แม้ไวรัส JE จะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมราว 4-5 GENOTYPES แต่มีเพียง IMMUNOTYPEเดียวเท่านั้น หมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันของคนจะมองเห็นไวรัส JE ที่มีการคน้ พบ ณ เวลาหนึ่งเวลาใดมีเพียง 1 ชนิดเท่า นั้น คุณลักษณะพิเศษของไวรัส JE ดังกล่าวส่งผลดีต่องานพัฒนาวัคซีน JE ชนิดใหม่ ๆในเวลาต่อมา กล่าวคือ ช่วยลดความสลับซับซ้อนของงานพัฒนาวัคซีนลงเป็นอย่างมาก ทำให้โลกนี้มีความต้องการวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีเพียงชนิดเดียว ก็สามารถครอบคลุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิผลในทุกพื้นที่ทุกสายพันธุ์

          ในการสร้างเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ชนิด IMOJEV ที่ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมนั้น นักวิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการทำให้เกิด ไวรัสลูกผสม (RECOMBINATION) โดยการนำชิ้นส่วนเปลือก (ENVELOP) ของเชื้อไวรัสที่ใช้ เป็นวัคซีน สายพันธุ์ SA14-14-2 เมื่อนำชิ้นส่วนเปลือก ที่เรียก prM และ E ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ไปแลกเปลี่ยนส่วนของ GENOME กับเชื้อไวรัส Yellow Fever Vaccine การแลกเปลี่ยนส่วน ของ GENOME ของไวรัสทั้ง 2 ชนิด ทำให้เกิดเป็นไวรัสลูกผสม (RECOMBINANT VIRUS) ซึ่งมีบางส่วนของ GENOME มาจากไวรัสที่ต่างกัน ไวรัสลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิต กล่าวคือเชื้อไวรัสที่สร้า งขึ้นมาสามารถเจริญเติบโตในเซลล์เจ้าบ้าน (HOST CELLS) และสามารถเพิ่มจำนวนได้

Vaccine_news_V.jpg


          ตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือ IMMUNOGEN ของวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีตัวนี้ เป็นส่วน prM/E ที่ได้รับมาจากวัคซีนไข้สมองอักเสบเชื้อเป็นชนิด SA14-14-2 เมื่อคนได้รับวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของคนจะมองเห็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (IMMUNOGEN) ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองที่ต่อต้านชิ้นส่วนของไวรัสนั้น คือ ส่วนเปลือกหรือ ENVELOP ของไวรัส JE ภูมิคุม้ กันที่สรา้ งขึ้นตอ่ สว่ นเปลือกของไวรัสที่จะ สามารถหยุดยั้งการติดเชื้อหรือการก่อให้เกิดโรคได้เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเจอีจากธรรมชาติในภายหลังการออกแบบวัคซีนไขส้ มองอักเสบเจอีชนิดนี้ โดยใหค้ วามสำคัญกับการตอบสนองทางภูมิคุม้ กัน โดยใช้ IMMUNOTYPE ของไวรัสเปน็ เป้า หมายหลักทำให้นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จ หลักการนี้ถูกนำไปใช้ในการสร้างเชื้อไวรัสต้นแบบเพื่อใช้ป้องกันโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆต่อไป



Capture_5_.jpg

ที่มา: Vaccine News โดยบริษัทซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด