โรคไข้หวัดใหญ่ (INFLUENZA)

2_6_.jpg

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน เชื้อก่อโรค ได้แก่ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Infl uenza virus) โดยลักษณะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีรูปร่างเป็นทรงกลม (spherical) หรือเป็นสาย (fi lamentous form) ขนาด 80-120 nm. (ดังรูปที่ 2) สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ชนิดเอ, บี และ ซี คุณสมบัติการเป็นแอนติเจนของโปรตีนที่เป็นโครงสร้างที่เสถียรอยู่ภายใน ได้แก่ นิวคลีโอโปรตีนและแมตทริกซ์โปรตีน เป็นตัวจำแนกชนิดของไวรัส ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ แบ่งเป็น subtypes โดยไกลโคโปรตีนที่ผิวของไวรัส 2 ชนิด คือ ฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin,H) และนิวรามินิเดส (neuraminidase, N) (ดังรูปที่ 3)


รูปที่ 2 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ AUSSR77 H1N1 จากกล้องอิเลคตรอน ไมโครกราฟฟี่ (Electron
micrograph of infl uenza AUSSR77 H1N1 กำลังขยาย ×189,000 เท่า)


รูปที่ 3 แบบแผนโครงสร้างของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอ (Schematic model of infl uenza A virus)

2. ระบาดวิทยา :

สถานการณ์ทั่วโลก : สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกเป็นวิกฤตทางสาธารณสุขของประเทศทั่วโลก โดยพบการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรปในเขตซีกโลกเหนือ มักพบระบาดมากในช่วงฤดูหนาวส่วนซีกโลกใตร้ ะบาดมากในฤดูฝน โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล คือ ไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ (H1N1) (H3N2) และ ชนิด บี

สถานการณ์ในประเทศไทย :
ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาและผลการศึกษาวิจัยในประเทศไทยคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งประเทศได้ 700,000 - 900,000 รายต่อปี และมีผู้ป่วย ไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ต้องรับไว้โรงพยาบาลประมาณ 12,575 - 75,801 รายต่อปี อัตราป่วยตายของโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนสูงถึงร้อยละ 2.5 และในปี พ.ศ. 2552 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 120,400 รายอัตราป่วย 189.73 ต่อประชากรแสนคน โดยอัตราป่วยในปี พ.ศ. 2552 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 - 5 ปีเนื่องจากมีการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 2009 (Infl uenza A novelH1N1; pandemic strain)

     โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) 2009ได้เริ่มแพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกาดังนั้นกรมควบคุมโรค โดยสำนักระบาดวิทยาจึงได้เริ่มดำเนินการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A(H1N1) 2009 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552และพบผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยในปลายเดือนพฤษภาคม จากนั้นเริ่มพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมีการแพร่ระบาดในวงกว้างในเดือนมิถุนายน ผลการดำเนินการเฝ้าระวังผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ได้รับรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 30,956ราย อัตราป่วย 48.78 ต่อประชากรแสนคน อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายเท่ากับ 1:1.03 มีผู้เสียชีวิต 157 รายอัตราตาย 0.31 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.64 โดยพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดตามฤดูกาลใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดตามฤดูกาลโดยภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง สัดส่วนอาชีพผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน

     จากการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดA (H1N1) 2009 ที่มีการระบาดไปทั่วโลก โดยสำนักระบาดวิทยาได้จัดทำรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ทุกสัปดาห์ จนกระทั่งองค์การอนามัยโลกได้ลดระดับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) 2009 ลงเป็นระยะหลังการ
ระบาดใหญ่ ทางสำนักระบาดวิทยาจึงได้ปรับเปลี่ยนการรายงานจากการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A(H1N1) 2009 เป็นการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่โดยรวมเพื่อ ให้การเฝ้าระวังโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. อาการของโรค : มีไข้ ไอ (ส่วนมากเป็นไอแห้งๆ) ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบและเจ็บคอ อาการไอนี้มักจะรุนแรงและไอเป็นเวลานาน
อาจถึง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไข้ และอาการอื่นๆ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เองในเวลา 5 - 7 วัน ในเด็กอาจพบอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินหายใจอาการทางระบบทางเดินอาหารพบได้ไม่บ่อยในผู้ใหญ่ทารกอาจจะพบอาการของโรคติดเชื้อในกระแสเลือดผู้สูงอายุที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่มักมีโรคประจำตัวร่วมด้วยเช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)และไม่แสดงอาการไข้

4. ระยะฟักตัวของโรค : โดยเฉลี่ย 2 วัน (ในช่วง 1 - 4 วัน)

5. การวินิจฉัยโรค : ตรวจหาไวรัสโดยการแยกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้จากคอหอยหรือสารคัดหลั่งจากจมูกหรือนํ้าล้างโพรงจมูก ซึ่งสามารถแยกเชื้อได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์หรือไข่ฟัก การตรวจแยกสารแอนติเจนของไวรัสโดยตรงในเซลล์จากโพรงจมูกและของเหลว (FA หรือ ELISA) ชุดทดสอบเร็ว (ซึ่งสามารถจำแนกตามชนิดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่) หรือการเพิ่มจำนวน RNA ของไวรัสส่วนการตรวจทางระบบนํ้าเหลืองวิทยา โดยการตรวจหาแอนติบอดีไตเตอร์ในซีรั่มคู่ (4-fold or greater rise inspecifi c antibody titer) ในระยะเฉียบพลันและระยะฟื้นตัวจากโรค อาจจะช่วยในการยืนยันการติดเชื้อชนิดเฉียบพลันได้เช่นกัน ตัวอย่างตรวจทางระบบนํ้าเหลืองวิทยาอย่างเดียวไม่สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเฉียบพลันได้ ในทางทฤษฎีการเก็บตัวอย่างระบบทางเดินหายใจควรเก็บในช่วงแรกตั้งแต่เริ่มป่วยเท่าที่เป็นไปได้ การแพร่เชื้อไวรัสจะเริ่มลดลงในวันที่ 3 จากวันที่เริ่มมีอาการ และตรวจไม่พบการแพร่หลังจาก 5 วัน ในผู้ใหญ่ แต่สำหรับผู้ป่วยเด็ก เคยมีรายงานการแพร่เชื้อเกิดขึ้นได้นานกว่า

6. การรักษา : ดูแลทั่วไปเหมือนกับผู้ป่วยไข้หวัด การให้ยาต้านไวรัสที่ได้ผลดี ควรให้ภายใน 48 ชั่วโมงแรก หลังเริ่มป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ เป็นเวลา 3 - 5 วัน เพื่อลดอาการเจ็บป่วย และลดปริมาณไวรัสในสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ และอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ และยังใช้ได้ผลเมื่ออาการป่วยไม่เกิน 5 วันขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุ 13 ปีขึ้นไปนั้นคือ 150 มก.ต่อวัน โดยแบ่งให้ 75 มก. 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลานาน 3-5 วัน ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)ยังไม่มีรายงานประสิทธิภาพในการรักษาเด็กที่อายุตํ่ากว่า 1 ปี

     ระหว่างการรักษาด้วยยาไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่งเชื้อไวรัสที่ดื้อตอ่ ยาอาจจะอุบัติขึ้นในชว่ งหลังของการรักษาและสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ การให้ยาในกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่รวมในห้องเดียวกัน ควรจะต้องพิจารณาโดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในกลุม่ ประชากรปดิ ซึ่งมีผูท้ ี่มีความเสี่ยงสูงอยู่มาก ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าดูภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการติดเชื้อร่วมจาก Methicillin Resistance Staphylococcus Aureus (MRSA)เพื่อเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ และเนื่องจากความสัมพันธ์ของกลุ่มอาการรายส์ ให้หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มซาลิไซเลท (Salicylates) ในเด็กที่สงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

7. การแพร่ติดต่อโรค : การแพร่กระจายของฝอยละอองขนาดใหญ่ ฝอยละอองขนาดเล็ก (แพร่กระจายในอากาศ) และการติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด (สัมผัสโดยตรง และโดยทางอ้อม) ในการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้ว่าเป็นที่เชื่อกันว่าการกระจายของฝอยละอองขนาดใหญ่ โดยการไอ และจามจากผู้ป่วย จะเป็นวิธีการแพร่โรคหลัก ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมงบนพื้นผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่มีอากาศเย็นและความชื้นตํ่า

8. มาตรการป้องกันโรค :

1. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขเรื่องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล รวมถึงการล้างมือ และมารยาทในการไอจาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่โรค ผ่า นการไอและจามที่ไม่ได้ป้องกัน และแพร่ผ่านมือที่เปื้อนเชื้อไปสู่เยื่อเมือก

2. ใหภู้มิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ทั้งชนิดเชื้อตายและชนิดเชื้ออ่อนแรง การให้วัคซีนโด๊สเดียวนั้น เพียงพอสำหรับผู้ที่สัมผัสเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ และ บี แต่สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีน 2 โด๊สห่างกัน 1 เดือน

3. มีกลุ่มยาต้านไวรัส 2 กลุ่ม ที่ใช้ในการป้องกันหลังการสัมผัสโรค และใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้แก่ (I) กลุ่มยาต้านนิวรามินิเดส (Neuraminidaseinhibitors) ซึ่งได้แก่ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)และยาซานามิเวียร์ (Zanamivir) มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพทั้งในการป้องกันและรักษาไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ และ บี ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาชนิดรับประทาน ใช้ในผู้ป่วยอายุ 1 ปีขึ้นไป ส่วนยาซานามิเวียร์ (Zanamivir) เป็นยาผงชนิดพ่นเข้าทางจมูก ได้รับการอนุมัติในการรักษาผู้ป่วยอายุ 7 ปี และ5 ปี สำหรับการป้องกัน ขนาดของยาต้านไวรัสในการรักษาให้ทาน 2 ครั้งต่อวัน ทานติดต่อกัน 5 วัน และ1 ครั้งต่อวัน สำหรับการป้องกัน ปริมาณยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) สำหรับเด็กใหปรับตามน้ำหนักตัว การให้ยาเพื่อป้องกันหลังสัมผัสโรค ควรให้ทานติดต่อกัน 7 - 10 วัน หลังการสัมผัส (II) ยากลุ่มอะดาแมนทีน (Adamantanes) (ยาอะแมนตาดีน;Amantadine และ ยาไรแมนตาดีน ; Rimantadine)เป็นยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ แต่ไม่มีผลกับชนิด บียาต้านไวรัสกลุม่ นี้ใช้ในผู้ป่วยอายุ 1 ปีขั้นไป

9. มาตรการควบคุมการระบาด :

1. การวางแผนสาธารณสุขและการใหสุ้ขศึกษาที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการให้ภูมิคุ้มกันในพื้นที่ที่มีกลุ่มผู้ป่วยความเสี่ยงสูง และบุคลากรที่ดูแลระบบเฝ้าระวังโรค โดยเจ้าหน้าที่และรายงานโรคใน ชุมชนเป็นสิ่งสำคัญมาก การตอบโต้ตอ่การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่จำเป็นต้องมีการวางแผนในระดับประเทศ

2. การปิดโรงเรียน ถึงแม้ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นมาตรการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ แต่เป็นมาตรการที่แนะนำให้ใช้ในการระบาด

3. ผู้บริหารโรงพยาบาลต้องมีส่วนร่วมในการสั่งการสำหรับการรักษาพยาบาลในชว่ งมีการระบาด และเมื่อมีการขาดงานของบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ควรได้รับวัคซีนป้องกันปีละครั้ง

4. สนับสนุนยาต้านไวรัสที่เพียงพอเพื่อการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และบุคลากรที่จำเปน็ ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีการระบาดใหญ่ของเชื้อสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และยังไมมี่วัคซีนใช้ในการระบาดช่วงแรก

เอกสารอ้างอิง:
1. การดำเนินมาตรการทางสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินจากโรคระบาด. โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรจำกัดแห่งประเทศไทย 2541 หน้า 227-244.
2. ปราณี ธวัชสุภา, มาลินี จิตตกานต์พิชย์, สุนทรียา วัยเจริญและ วัฒนา อู่วาณิชย์. การตรวจวินิจฉัยและจำแนกโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกจากตัวอย่างผู้ป่วย : ตำราโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร 2548. หน้า 103-107.
3. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ. ใน: การเก็บและการส่งตัวอย่างวินิจฉัยโรคไวรัสระบบทางเดินหายใจ ไวรัสอินฟลูเอนซาไวรัสพาราอินฟลูเอนซา ไวรัสอาร์-เอส ไวรัสอะดิโน. กระทรวงสาธารณสุข;2552. หน้า 31 - 33.
4. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, American Association of Public Health, 2008.
5. World Health Organization. WHO Animal Infl uenza Training Manual, The National Training Course on Animal Infl uenza Diagnosis and Surveillance, Harbin China, 20-26 May 2001.
6. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas, and Bennett’s , editor. Principles and Practiceof Infectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia (USA): Elsevier; 2010 : p. 2266.


ที่มา: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข