การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับประชาชน
ยาปฏิชีวนะคืออะไร
ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ
ดังนั้น ถ้ากินยาปฏิชีวนะเข้าไปเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ ทั้งที่ความจริงเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัส นอกจากไม่เกิดประโยชน์ในการรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้น ยังจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้มากขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมา ต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำ หรือ เกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมปัญหาการดื้อยา
อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
ด้วยเหตุนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำหรือเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี
เราช่วยกันลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้
1. ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น การป่วยด้วยโรคหวัด ไม่จำเป็นต้องใช้ยา
3. ควรใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ยาแรงหรือกว้างเกินไป เพื่อมุ่งให้หายจากอาการป่วยโดยเร็ว ซึ่งหากใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงในการรักษาเริ่มแรกทันที เมื่อเกิดการดื้อยาขึ้นจะทำให้ไม่มียาขนานต่อไปเพื่อใช้ในการรักษา
การแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินจำเป็นต้องดำเนินการในทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของโรงพยาบาล ร้านยา และภาคประชาชน จึงจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนและยั่งยืน
อ้างอิง
การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อและไม่เหมาะสมนั้นก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาโดยไม่จำเป็น เป็นการใช้ยาที่สูญเปล่า สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่เกิดประโยชน์ใด และนำไปสู่ปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล ประชาชนไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยาใช้เอง การร้องขอยาจากแพทย์ การใช้ยาผิดข้อบ่งชี้ ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศไทยและเป็นปัญหาระดับโลก
ยาปฏิชีวนะคืออะไร
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส ไม่มีผลต่อโรคภูมิแพ้ จึงไม่ช่วยให้โรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคภูมิแพ้หายเร็วขึ้นหรือมีอาการดีขึ้นแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเหล่านั้น
ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ
คนส่วนใหญ่มักเรียกยาปฏิชีวนะว่าเป็นยาแก้อักเสบ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น เพราะยาจะไปรักษาหรือแก้การอักเสบ ยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่าง เช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีลซิลิน เตตร้าซัยคลิน ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และยาแก้อักเสบ(ยาต้านการอักเสบ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เราจึงไม่ควรเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบอีกต่อไป เพราะเมื่อใช้ยาไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย ทั้งผลข้างเคียงจากยา โรคไม่หาย แพ้ยา และเสียเงินโดยไม่จำเป็น
ดังนั้น ถ้ากินยาปฏิชีวนะเข้าไปเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ ทั้งที่ความจริงเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัส นอกจากไม่เกิดประโยชน์ในการรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้น ยังจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้มากขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมา ต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำ หรือ เกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมปัญหาการดื้อยา
อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
เกิดการแพ้ยา ซึ่งหากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้ หลุดลอก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
เกิดเชื้อดื้อยา การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น แพงขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด สุดท้ายก็จะไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุด
เกิดโรคแทรกซ้อน ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นๆ ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
ด้วยเหตุนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำหรือเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี
เราช่วยกันลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้
โดยปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาดัง 3 ข้อ ต่อไปนี้
1. ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น การป่วยด้วยโรคหวัด ไม่จำเป็นต้องใช้ยา
ปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อหวัดเป็นไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย ดังนั้นการกินยาปฏิชีวนะจึงไม่มีผล ปัจจุบันกลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่จำเป็นและไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ แต่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะสูงมากได้แก่ 1. ไข้หวัด เจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3. แผลเลือดออก ทั้งนี้เพราะมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มโรคเหล่านี้ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อลดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาและการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยอาจใช้แนวทางพิจารณาความรุนแรงของโรคเพื่อดูแลรักษาตนเองได้
อาการไข้ที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าน่าจะมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คือ อาการไข้ที่เกิดร่วมกับอาการแสดงเฉพาะที่ของร่างกายแต่ละระบบ
ตัวอย่างอาการไข้ที่มีสัญญาณติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่
- ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับอาการท้องเดิน
- ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับอาการเจ็บคอ ผนังคอแดง มีจุดหนอง
- ระบบผิวหนัง ได้แก่ อาการไข้ร่วมกับผิวหนังอักเสบเป็นหนอง บวมแดง
2. ควรกินยาปฏิชีวนะให้ครบขนาดตามที่แพทย์สั่ง หากหยุดกินเองเชื้อแบคทีเรียจะปรับตัวให้คงทนต่อยามากขึ้นและกลายเป็นเชื้อดื้อยาในที่สุด
3. ควรใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ยาแรงหรือกว้างเกินไป เพื่อมุ่งให้หายจากอาการป่วยโดยเร็ว ซึ่งหากใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงในการรักษาเริ่มแรกทันที เมื่อเกิดการดื้อยาขึ้นจะทำให้ไม่มียาขนานต่อไปเพื่อใช้ในการรักษา
การแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินจำเป็นต้องดำเนินการในทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของโรงพยาบาล ร้านยา และภาคประชาชน จึงจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนและยั่งยืน
อ้างอิง
- พิสนธ์ จงตระกูล.(2554).การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล.พิมพ์ครั้งที่3.นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.ยาปฏิชีวนะอย่าใช้เรื่อยเปื่อย.เข้าถึงได้จาก
http://www.oryor.com และ http://pca.fda.moph.go.th (วันที่ค้นข้อมูล:19 พฤศจิกายน 2561).
- สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ(2555) . รายงานโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555. สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
- คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556. การส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลที่โรงพยาบาลศิริราช ตามแนวคิด Antibiotic Smart Use (ASU). เข้าถึงได้จาก: www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/u5680/star2555-092.pdf(วันที่ค้นข้อมูล:19 พฤศจิกายน 2561).